วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13.10 - 16.40 น.
กิจกรรม / ความรู้ที่ได้รับ
           วันนี้ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้มี กิจกรรมรถไฟเหาะชีวิต มาให้พวกเราเล่นเพื่อเป็นการผ่อนคลาย และเกิดความสนุกสนานในการเรียน

           เรื่องที่เรียนในวันนี้คือ การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ
           
           ทักษะทางสังคม  เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ไดมีสาเหตุมาจากพ่อแม่  และสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้รับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการที่ดี

            กิจกรรมการเล่น  การเล่นเป็นสิ่งที่สำคัญ  เด็กจะสนใจกันโดยมีการเล่นเป็นสื่อ  ในช่วงแรกเด็กจะไม่มองคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่จะมองเป็นสิ่งที่น่าสำรวจ

            ยุทธศาสตร์การสอน  ครูจะเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ  บอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นอย่างไร  จดบันทึก  และทำแผน IEP

            การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง  วางแผนการเล่นไว้หลาย ๆ อย่าง  คำนึงถึงเด็กทุกคน  ให้เด็กได้เล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน และให้เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครู ให้เด็กพิเศษ

            ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น  คอยเฝ้ามองอยู่ใกล้ ๆ ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป  ไม่เข้าไปพูดคุยตัดสินผลงานเด็กขณะเด็กกำลังทำกิจกรรม  เอาวัสดุมาให้เพิ่มเพื่อยืดเวลาการเล่น  ควรให้อุปกรณ์น้อยกว่าจำนวนเด็กในกลุ่ม  เช่น มีเด็ก 5 คน ควรให้ของเล่นเด็กอย่างละ 2 ชิ้น  เพื่อให้เด็กได้เรื่องรู้ทักษะทางสังคมจากการเล่น  ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม  กรณีที่เด็กไม่ยอมให้อุปกรณ์เพื่อนเล่นบาง ครูควรทำให้การเล่นเป็นเหมือนการเล่นเกม เช่น ให้ตักทราย 10 ครั้ง แล้วส่งอุปกรณ์ต่อให้เพื่อน

             การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น  โดยการชักชวนให้เด็กเล่นร่วมกับเพื่อน  กรณีเด็กดาวน์ซินโดรมและเด็กออทิสติก  หากครูจะชักชวนให้เด็กเล่นกับเพื่อนและให้เพื่อนในกลุ่มเกิดการยอมรับน้องดาวน์หรือน้องออ ควรให้น้องนำของเล่นเข้าไปเล่นกันเพื่อนด้วย  เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับน้อง  และครูควรเฝ้าสังเกตการณ์อยู่ก่อน

             ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกฑณ์  ให้โอกาสเด็กพิเศษ  ได้เรียนรู้สิทธิต่าง ๆ เหมือนเพื่อนในห้อง  และครูไม่ใช่ความบกพร่องเป็นเครื่องต่อรอง
             หลังจากเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็แจกเนื้อเพลง เพื่อฝึกร้องเพลงกันเหมือนเช่นเคย
เนื้อเพลง

              กิจกรรมสุดท้ายของวันนี้ก็คือ กิจกรรมศิลปะและดนตรีบำบัดสำหรับเด็กพิเศษ  โดยให้นักศึกษาจับคู่กัน แล้วให้คนนึงเป็นเด็กปกติและอีกคนเป็นเด็กพิเศษ จากนั้นให้หยิบสีเทียนคนละ 1 สี ให้คนนึงวาดเส้น และอีกคนเขียนจุด  วาดไปตามจังหวะทำนองเพลงที่อาจารย์เปิดจนจบเพลง  โดยคนที่วาดเส้นห้ามยกสีขึ้น ให้วาดไปอย่างต่อเนื่อง และคนเขียนจุดให้เขียนตามรอยเส้นตัดที่เป็นวง
            หลังจากวาดเสร็จอาจารย์ก็ให้ดูเส้นของตนเอง แล้วจินตนาการวาดเห็นเป็นภาพอะไร แล้วระบายสีบนภาพที่เห็น  จากนั้นให้นำผลงานมานำเสนอหน้าห้อง ซึ่งคู่ดิฉันวาดออกมาเป็นรูปจระเข้
 ภาพผลงานของคู่ดิฉัน 
ภาพผลงานของเพื่อนๆ

การนำไปประยุกต์ใช้
           สามารถนำหลักการส่งเสริมทักษะด้านสังคมของเด็กพิเศษไปปรับใช้ในอนาคต  และสามารถนำเทคนิคการทำศิลปะและดนตรีบำบัดสำหรับเด็กพิเศษมาใช้กับเด็กได้  และสามารถนำเอาเพลงที่ฝึกร้องไปใช้สอนเด็กได้ค่ะ
การประเมิน
           ตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน จดบันทึกตามอาจารย์  ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
           เพื่อน : ตั้งใจเรียน มีคุยบ้าง จดบันทึกตาม ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างดี
           อาจารย์ : มีกิจกรรมก่อนเรียนเพื่อให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลายก็เริ่มเนื้อหา อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจ  และมีกิจกรรมหลังเรียนเพื่อให้เราไปปรับใช้กับเด็กในอนาคตได้

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13.10 - 16.40 น.
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากมีเซอร์ไพร์วันเกิดอาจารย์เบียร์

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13.10 - 16.40 น.
กิจกรรม / ความรู้ที่ได้รับ
        วันนี้อาจารย์เริ่มต้นคาบด้วยการให้นักศึกษาวาดรูปดอกไม้ที่กำหนดให้ ให้เหมือนที่สุด ซึ่งรูปดอกไม้ที่อาจารย์นำมาให้กลุ่มเราวาดคือ รูปดอกลิลลี่ 
ภาพจริง และภาพวาดดอกลิลลี่
             เมื่อทุกคนวาดเสร็จอาจารย์ก็ให้นักศึกษาบรรยายสิ่งที่เห็นจากรูป  เพื่อดูว่าทุกคนมีหลักการมองหรือสังเกตภาพอย่างไร พอนักศึกษาเขียนเสร็จอาจรย์ก็ได้บอกว่า หลักการสังเกตที่ดีความสังเกตและบันทึกผลจากสิ่งที่เห็นตามจริง ไม่ควรใส่ความคิดหรือจินตนาการของตนเองลงไป

              เนื้อหาที่เรียนในวันนี้คือ บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม  

สิ่งที่ครูไม่ควรทำ
         1. ครูไม่ควรวินิจฉัยเด็ก  โดยการตัดสินเพียงสิ่งที่ดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง  เพราะอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
        2. ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก  เพราะเป็นเสมือนเป็นตราประทับตัวเด็ก  ทำให้เด็กกลายเป็นแบบนั้นจริง ๆ ย่อมเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
           3. ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด้ฏมีบางอย่างผิดปกติ  พ่อแม่ของเด็กมักทราบปัญหาของเด็กดีอยู่แล้ว ควรรายงานว่าเด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง  เท่ากับการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้บ้าง  ช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะพัฒนาเด็ก


สิ่งที่ครูควรทำ
       1. สังเกตอย่างมีระบบ  เพราะไม่มีใครสามารถสังเกตเด็กได้ดีกว่าครู  เนื่องจากการอยู่กับเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนาน
           2. ตรวจสอบ  ว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร  เป็นแนวทางให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กได้ดีขึ้น  รู้ว่าเด็กต้องการความช่วยเหลือในเรื่องใด
        3. การบันทึกการสังเกต  เป็นการบันทึกตามที่เห็นจริง ไม่ใส่ความคิดเห็นของตนเข้าไป  ซึ่งประกอบด้วย 3 ประเภทคือ
                   - การนับอย่างง่าย ๆ คือ นับจำนวนครั้งหรือระยะเวลาของการเกิดพฤติกรรม  
                   - การบันทึกต่อเนื่อง คือ เขียนทุกอย่างที่เด็กทำช่วงหนึ่ง หรือกิจกรรมหนึ่ง
                   - การบันทึกไม่ต่อเนื่อง คือ การบันทึกสั้น ๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมเด็ก ลงบัตรเล็ก ๆ 

                หลังจากเรียนเนื้อหาเสร็จ ก็เป็นการฝึกร้องเพลงเช่นเคย ซึ่งวันนี้จะได้เนื้อเพลงแผ่นใหม่และอาจารย์ได้สอนร้องเพลงฝึกกายบริหาร
เนื้อเพลง
การนำไปประยุกต์ใช้
     สามารถนำหลักและบทบาทการเป็นครูที่ดีที่ได้เรียนนี้ไปปรับใช้ในการเป็นครูในอนาคตได้  และสามารถเป็นหลักในการพูดคุยกับผู้ปกครองของเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้

การประเมิน
           ตนเอง : ตั้งใจเรียน และจดบันทึกตามที่อาจารย์สอน พยายามพูดตอบคำถามของอาจารย์
           เพื่อน : ตั้งใจวาดภาพดอกไม้ และตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดีค่ะ
           อาจารย์ : สอนสนุก อธิบายเนื้อหาอย่างได้เข้าใจ  ยกตัวอย่างเนื้อหาให้เข้าใจมายิ่งขึ้น 

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 29 มกราคม 2558 เวลา 13.10 - 16.40 น.
ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจากอาจารย์ไปสัมนาวิชาการ

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 22 มกราคม 2558  เวลา 13.10 - 16.40 น.
กิจกรรม / ความรู้ที่ได้รับ
             ในวันนี้เรียนเรื่อง รูปแบบการจัดการศึกษา 
- การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
- การศึกษาพิเศษ (Special Education)
- การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
- การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)

             การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  ต้องคิดเสมอว่าเด็กสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสที่เหมาะสม

              ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
          การจัดการศึกษาที่ให้เด็กพิเศษเข้าไปเรียนในระบบการศึกษาทั่วไป  มีกิจกรรมที่เด็กพิเศษและเด็กปกติได้ทำร่วมกัน  ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของวัน  ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
     1. การเรียนร่วมบางเวลา Integrated เป็นการจัดให้เด็กพิเศษเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนหรือทำกิจกรรมกับเด็กปกติเพียงบางเวลาของแต่ละวัน เป็นเด็กพิเศษระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่สมารถเรียนร่วมเต็มเวลาได้
       2. การเรียนร่วมเต็มเวลา Mainstreaming เป็นการจัดให้เด็กพิเศษเข้าเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลา  จัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนใกล้เคียงเด็กปกติ  

                ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)
               การจัดการศึกษาให้เด็กพิเศษสามารถเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาจนจบการศึกษา  เป็นการศึกษาสำหรับทุกคน  ยึดปรัชญาการอยู่รวมกันเป็นหลัก ยอมรับซึ่งกันและกัน  ปรับตัวเข้าหากันได้ ครูกับนักเรียนช่วยกันเป็นสมาชิกที่ดี  กิจกรรมทุกชนิดต้องคิดให้รอบคอบ  เพื่อไม่ให้ยากเกินไปสำหรับเด็กพิเศษ  และไม่ง่ายเกินไปสำหรับเด็กปกติ  ไม่มีการแบ่งแยกเด็ก  โดยเด็กเป็นผู้เลือโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก  

                  หลังจากเรียนเนื้อหาเสร็จ อาจารย์ก็ได้ฝึกสอนร้องเพลงที่เหลือจากสัปดาห์ที่แล้ว
เนื้อเพลง

การนำไปประยุกต์ใช้
           สามารถนำความรู้เรื่องการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษมาปรับใช้ได้ ในอนาคตหากต้องได้สอนและอยู่ร่วมกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
บรรยากาศภายในห้องเรียน
การประเมิน
           ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
         เพื่อน :  ทุกคนก็ตั้งใจเรียน  จดบันทึกตาม ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม  แต่ในวันนี้เป็นการเรียนรวม 2 เซค ทำให้เมื่ออาจารย์สอน มีการพูดคุยกันเสียงดัง  จนอาจารย์ต้องกล่าวตักเตือนบ้างบางครั้ง
           อาจารย์ : สอนเนื้อหาได้อย่างเข้าใจชัดเจน สนุกสนาน ไม่ทำให้นักศึกษาเบื่อเวลาเรียนค่ะ