วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 9 เมษายน 2558 เวลา 13.10 - 16.40 น.

กิจกรรม / ความรู้ที่ได้รับ
          เรื่องที่เรียนในวันนี้ การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ
          
          ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
          เป้าหมาย  การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้  มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง  เกิดความรู้สึกว่า "ฉันทำได้"  พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น อยากสำรวจ  และทดลอง

          ช่วงความสนใจ  จะต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่น ๆ สามารถจดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงหนึ่งได้นานพอสมควร  ซึ่งเด็กปกติจะมีช่วงความสนใจเป็นเวลาประมาณ 10-15 นาที  แต่เด็กพิเศษช่วงความสนใจจะสั้นมาก  การเล่านิทานเรื่องที่สั้น ๆ แล้วให้เด็กนั่งฟังจนจบได้  จะทำให้เขารู้สึกว่าเขาทำได้  และค่อยพัฒนาเป็นนิทานเรื่องที่ยาวขึ้นเรื่อย ๆ

          การเลียนแบบ  สำหรับเด็กพิเศษไม่ควรปล่อยให้เขาทำกิจกรรมต่าง ๆ คนเดียว  ควรให้เด็กได้ทำกิจกรรมไปพร้อม ๆ กับเด็กปกติ  เพื่อให้เด็กได้เลียนแบบพฤติกรรมของเพื่อน

          การทำตามคำสั่ง  คำแนะนำ  ครูควรเรียกชื่อเด็กก่อนเสมอ  และเมื่อให้เด็กพิเศษกับเด็กปกติทำกิจกรรมร่วมกัน  ครูควรเรียกชื่อเด็กพิเศษก่อนเด็กปกติ  เพื่อให้เด็กพิเศษได้ตั้งสติในการฟังคำสั่ง  ควรสั่งทีละคำสั่ง  เป็นคำสั่งที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน  ใช้คำพูดให้เด็กได้ยินชัดเจน  ให้เด็กเข้าใจคำศัพท์ของครู

          การรับรู้  การเคลื่อนไหว  เด็กจะได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส ได้กลิ่น แล้วส่งผลถึงการตอบสนองอย่างเหมาะสม

          การควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็ก  โดยให้เด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การกรอกน้ำ ตวงน้ำ ต่อบล็อก ทำงานศิลปะ การเล่นมุมบ้าน การให้เด็กฝึกใช้กรรไกร  ซึ่งกรรไกรที่เหมาะกับเด็กคือกรรไกรหัวมน  การสอนเด็กพิเศษตัดกระดาษควรใช้กระดาษสั้น ๆ ให้ตัดทีเดียวขาด  แล้วค่อยเพิ่มความยาวของกระดาษขึ้นเรื่อย ๆ

         ความจำ  จากการสนทนากับเด็กในเรื่องต่าง ๆ เช่น เมื่อเช้าหนูทานอะไร  การจำตัวละครในนิทาน จำชื่อครู เพื่อนได้ เป็นต้น

          ทักษะคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์
          การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ  โดยจัดกลุ่มเด็ก  เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้น ๆ ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจน  ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง  ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย  บันทึกการทำกิจกรรมของเด็ก  มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ  เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง  ครูพูดในทางที่ดีเสมอ  จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว  และทำบทเรียนให้สนุก
          วิธีการแจกงาน  ควรให้เด็กเดินมาหยิบด้วยตนเอง  เพื่อฝึกให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง  แต่ถ้าไม่อยากให้ห้องเกิดความวุ่นวาย  ให้ใช้วิธีส่งต่อกัน

บรรยากาศภายในห้องเรียน
การนำไปประยุกต์ใช้
          สามารถนำเอาความรู้เกี่ยวกับหลักพื้นฐานการเรียนและทักษะคณิตศาสตร์  และวิทยาศาสตร์ของเด็กพิเศษ  ไปปรับใช้กับการสอนในอนาคตได้  และได้รู้ว่าเด็กพิเศษมีความต้องการในส่วนใดมากกว่าเด็กปกติ  และควรส่งเสริมเด็กในลักษณะใด

การประเมิน
          ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน จดบันทึกเพิ่มเติมตามอาจารย์สอน
          เพื่อน : แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังอาจารย์สอน  มีคุยกันบ้างเล็กน้อย
          อาจารย์ : อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจชัดเจน  มีการยกตัวอย่างสถานการณ์ต่าง ๆประกอบการเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 26 มีนาคม 2558 เวลา 13.10 - 16.40 น.
กิจกรรม / ความรู้ที่ได้รับ
           สัปดาห์นี้เป็นการทดสอบความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมด  โดยเป็นการสอบข้อเขียน จำนวน 5 ข้อ 10 คะแนน  ซึ่งคำถามของการสอบส่วนมากจะเป็นการยกตัวอย่างสถานการณ์ต่าง ๆ แล้วให้อธิบายถึงการแก้ปัญหาและการสอนเด็ก หากต้องเจอกับสถานการณ์นั้น ๆค่ะ

การประเมิน
           ตนเอง : ตั้งใจทำข้อสอบ  มีลืมเนื้อหาที่เรียนไปบ้าง  แต่ก็สามารถทำออกมาได้อย่างเต็มที่แล้วค่ะ
           เพื่อน : ตั้งใจทำข้อสอบกันดีค่ะ มีคุยกันบ้างเล็กน้อยค่ะ แต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา
           อาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา ไม่กดดันเด็กขณะสอบ  ข้อสอบออกตรงตามที่อาจารย์เคยสอนค่ะ  

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 19 มีนาคม 2558 เวลา 13.10 - 16.40 น.
กิจกรรม / ความรู้ที่ได้รับ
            เรื่องที่เรียนในวันนี้ คือ การส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ของเด็กพิเศษ

            ทักษะการช่วยเหลือตนเอง  การให้เด็กได้เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระ  ทำกิจวัตรต่าง ๆในชีวิตประจำวันด้วยตนเองให้ได้มากที่สุด  เด็กสามารถทำทุกอย่างได้ด้วยตนเอง

            การสร้างความอิสระ  ให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเอง  ได้ทำงานตามความสามารถ  การเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน  หรือบุคคลที่โตกว่า

            ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ  เด็กได้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง  เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองและได้เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

            หัดให้เด็กทำเอง  ไม่ช่วยเหลือเด็กเกินความจำเป็น  ห้ามพูดกับเด็กว่า "หนูทำช้า" "หนูยังทำไม่ได้" เด็ดขาด

            จะช่วยเมื่อไหร่  เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร  เบื่อ ไม่สบาย  หลายครั้งที่เด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว  ให้ความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ  ช่วยเด็กในช่วงทำกิจกรรม

             ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง  แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยให้มากที่สุด  เรียงตามลำดับขั้น  (การย่อยงาน)

             สรุป  ครูต้องพยายามให้เด็ฏทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง  ย่อยงานแต่ละอย่างออกเป็นขั้น ๆ  ความสำเร็จขั้นเล็ก ๆ จะนำไปสู่ความสำเร็จทั้งหมด  และช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง  พึ่งตนเองได้  และรู้สึกเป็นอิสระ
             หลังจากเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ให้ทำกิจกรรม  โดยแจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้ระบายสีเป็นวงกลมใหญ่ขึ้นเรื่อยตามความพอใจ  และใช้สีได้ตามความชอบ  เมื่อระบายเสร็จก็ให้ตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมตามที่ได้ระบายไว้  จากนั้นอาจารย์ก็นำต้นไม้มาติดที่กระดานหน้าห้อง  แล้วให้นักศึกษานำวงกลมของตนเองออกมาติดที่ต้นไม้ทีละคน  
            กิจกรรมนี้เป็นจะช่วยให้ครูทราบว่าเด็กแต่ละคนนั้น  มีภาวะจิตใจเป็นแบบใดจากการระบายสีภาพวงกลมของตนเอง  และยังได้รู้ว่าการอยู่ร่วมกันภายในห้องเรียนนั้นมีลักษณะเป็นแบบใด  จากการนำภาพวงกลมของตนเองออกไปติดที่ต้นไม้หน้าชั้น  ซึ่งกลุ่งของฉันนั้นภาพที่ออกมาทำให้รู้ว่าเราอยู่กันด้วยความเกรงใจซึ่งกันและกัน
ผลงานของฉัน

ผลงานของเพื่อนในห้อง
การนำไปประยุกต์ใช้
             สามารถนำเอาหลักการสอนที่ช่วยให้เด็กสามารถช่วยตนเองได้อย่างเต็มที่ไปปรับใช้ได้ ทั้งในเด็กปกติและพิเศษ  โดยไม่คอยให้ความช่วยเหลือเด็กมากจนเกินไป  และคอยให้การสนับสนุนหากเด็กสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองได้  และยังสามารถนำเอากิจกรรมการระบายสีวงกลมที่อาจารย์ให้ทำไปใช้กับการทำกิจกรรมของเด็กได้

การประเมิน
          ตนเอง : แต่งกายเรียบร้อย  จดบันทึกตามอาจารย์สอน ตั้งใจเรียน  ใก้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
          เพื่อน : ตั้งใจเรียน  ให้ความร่วมมือในการเรียนและการทำกิจกรรม  มีคุยกันเสียงบางเล็กน้อย
          อาจารย์ : อธิบายเนื้อหา  และยกตัวอย่างเหตุการณ์ได้อย่างเข้าใจ สอนสนุก ไม่เครียดค่ะ