บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 5 มีนาคม 2558 เวลา 13.10 - 16.40 น.
กิจกรรม / ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียนวันนี้อาจารย์แจกถุงมือให้นักศึกษาคนละ 1 ข้าง แล้วให้ใส่ไว้ในข้างที่ตนไม่ถนัด จากนั้นให้ใช้มือข้างที่ถนัดวาดรูปมือข้างที่ใส่ถุงมืออยู่ โดยห้ามถอดถุงมือออกมาดูและต้องวาดรายละเอียดของมือนั้นให้เหมือนที่สุด
สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ คือ การรู้จักสังเกต เปรียบเสมือนการสังเกตเด็กที่ต้องมีจดบันทึกการสังเกตนั้นตลอดเวลา ไม่ควรสังเกตแล้วจำเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ เราก็จะลืมสิ่งที่สังเกต และไม่สามารถบันทึกได้อย่างชัดเจน
ภาพจริง
ภาพวาด
เรื่องที่เรียนในวันนี้ คือ การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
การเข้าใจภาวะปกติ ว่าเด็กมักมีคล้ายกันมากกว่าแตกต่างกัน ต้องรู้จักเด็ก และมองเด็กทุกคนให้เป็นเด็ก
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า เข้าใจพัฒนาการของเด็ก เพื่อช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
ความพร้อมของเด็ก
- วุฒิภาวะ เด็กที่อายุใกล้เคียงกัน จะมีวุฒิภาวะที่ไม่ค่อยแตกต่างกัน
- แรงจูงใจ ของเด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน
- โอกาส เด็กทุกคนมีโอกาสที่เท่าเทียมกัน รวมทั้งเด็กพิเศษด้วย
การสอนโดยบังเอิญ เป็นการสอนที่เด็กจะเป็นฝ่ายเข้าหาครู เด็กจะค้นพบปัญหาด้วยตนเอง และครูมีหน้าที่คอยให้คำแนะนำ ชี้แนะ
อุปกรณ์ เด็กพิเศษจะเรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ และเด็กปกติจะเรียนรู้ที่จะช่วยเหลือเด็กพิเศษ ของเล่นของเด็กควรเป็นของเล่นที่มีลักษณะไม่ตายตัว เช่น บล็อก ดินน้ำมัน เป็นต้น
ตารางประจำวัน เด็กพิเศษจะไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำเป็นประจำได้ ตารางควรเรียงเป็นลำดับ ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย ในแต่ละวันควรมีตารางประจำวันที่เหมือนกัน เพื่อให้เด็กรู้ว่าในแต่ละวันนั้นเขาจะได้เรียนอะไรบ้าง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการมาโรงเรียนของเด็ก โดยเฉพาะเด็กออทิสติก ซึ่งกิจกรรมที่จัดในแต่ละวันมักเป็น 6 กิจกรรมหลัก ดังนี้
1.กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์
3.กิจกรรมศิลปะ
4.กิจกรรมกลางแจ้ง
5.กิจกรรมการเล่นตามมุม
6.กิจกรรมเกมการศึกษา
ความยืดหยุ่น คือ สามารถแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้ ยอมรับความสามารถของเด็ก
การใช้สหวิทยาการ การสร้างความสัมพันธ์ของการสอนกิจกรรมหลักให้ควบคู่กับกิจกรรมการบำบัดในห้องเรียน
เทคนิคการให้แรงเสริม เป็นการตอบสนองด้วยวาจา พยักหน้ารับ สัมผัสทางกาย และการให้ความช่วยเหลือ
การแนะนำหรือบอกบทของครู ฺฺโดยการย่อยงาน จัดลำดับความยากง่ายของงาน เพื่อเป็นแรงเสริมให้เด็กค่อย ๆ ก้าวไปสู่ความสำเร็จ
การสอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือการสอนย้อนมาจากข้างหลัง ซึ่งควรสอนทั้ง 2 แบบ ควบคู่กันไป
การลดหรือหยุดแรงเสริม งดการให้แรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกจากเด็ก ภายในห้องควรจัดให้มีมุมลงโทษเด็กดื้อ และลงโทษเด็กตามอายุที่เหมาะสม
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำเอาหลักการสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติที่ได้เรียนนี้ไปปรับใช้ในอนาคตได้ ได้รู้ว่าควรจัดการสอนแบบใดให้แก่เด็ก ควรให้แรงแสริมและลงโทษเด็กอย่างไร ควรทำอย่างไรให้เด็กปกติและเด็กพิเศษสามารถเรียนด้วยกันได้ และยังได้รู้ว่าเราควรสังเกตเด็กและจดบันทึกการสังเกตนั้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน และเพื่อรายงานพฤติกรรมนั้นๆแก่ผู้ปกครองของเด็ก
บรรยากาศภายในห้องเรียน
การประเมิน
ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน จดบันทึกตาม
เพื่อน : ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม คุยกันเสียงดังบ้างเล็กน้อย กล้าซักถาม
อาจารย์ : อธิบายเนื้อหาได้อย่างเข้าใจชัดเจน สอนสนุก ยกตัวอย่างสถานการณ์จริงเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจยิ่งขึ้น เวลาเรียนเหมือนเป็นการนั่งฟังอาจารย์เล่าเรื่องเลยทำให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น