วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 27 เมษายน 2558 เวลา 13.10 - 16.40 น.
กิจกรรม / ความรู้ที่ได้รับ
            กิจกรรมในวันนี้คือ การสอบร้องเพลง  โดยเป็นเพลงที่อาจารย์เคยสอนมาในคาบเรียน ซึ่งจะมีทั้งหมด 21 เพลง แต่อาจารย์จะจับฉลากให้ร้องแค่คนละ 1 เพลง  
            เกณฑ์การให้คะแนน ทั้งหมด 5 คะแนน
- ดูเนื้อเพลงได้ หัก 1 คะแนน
- ให้เพิ่อนช่วยร้อง หัก 1 คะแนน
- จับฉลากใหม่ หัก 0.5 คะแนน

รายชื่อเพลง
1. ฝึกกายบริหาร               2. ผลไม้                           3. กินผักกัน
4. ดอกไม้                          5. จ้ำจี้ดอกไม้                  6. ดวงอาทิตย์
7. ดวงจันทร์                      8. ดอกมะลิ                      9. กุหลาบ
10. นกเขาขัน                    11. รำวงดอกมะลิ           12. นกกระจิบ
13. เที่ยวท้องนา               14. แม่ไก่ออกไข่            15.ลูกแมวสิบตัว
16. ลุงมาชาวนา                17. นม                            18. อาบน้ำ
19. แปรงฟัน                      20. พี่น้องกัน                  21. มาโรงเรียน

การนำไปประยุกต์ใช้
           สามารถนำเพลงที่อาจารย์สอนทุกเพลงไปใช้ในการเก็บเด็ก หรือใช้ในการสอนหน่วยต่าง ๆ ในอนาคตได้อย่างดี
การประเมิน
           ตนเอง : มีการเตรียมตัวซ้อมร้องเพลงมาล่วงหน้าก่อนสอบเป็นอย่างดี เข้าเรียนตรงเวลา
           เพื่อน : เตรียมความพร้อมสำหรับการสอบร้องเพลงมา ตั้งใจฟังเพื่อนร้องเพลง ให้ความร่วมมืออย่างดี ทำให้ห้องสนุกสนาน
           อาจารย์ : มีการเคาะจังหวะให้ขณะร้องเพลง ใจดีให้โอกาสนักศึกษา

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่ 23 เมษายน 2558 เวลา 13.10 - 16.40 น.

กิจกรรม / ความรู้ที่ได้รับ
             เรื่องที่เรียนในวันนี้  โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized  Education  Program) 

             แผน IEP คือ แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็กแต่ละคน  ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผล  ซึ่งมีบุคคลที่เกี่ยวข้องในการเขียนแผน  ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูประจำชั้น ผู้ปกครอง และอาจมีหมอหรือผู้ช่วยสอนร่วมด้วย
         
            การเขียนแผน IEP  เป็นแผนของเด็ก 1 คน ครูต้องรู้จักเด็กคนนั้นเป็นอย่างดี รู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร รู้นิสัย จุดเด่น จุดด้อย สภาพครอบครัว ได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลหรือไม่  รู้ว่าเด็กสามารถทำอะไรได้ และไม่สามารถทำอะไรได้  มีการประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ คอยสังเกตและบันทึกผลอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

           IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- เด็กจำเป็นต้องได้รับการบริการพิเศษอะไรบ้าง
- ระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล

           ประโยชน์ต่อเด็ก  เด็กได้รู้ความสามารถของตนเอง  มีโอกาสได้พัฒนาตามศักยภาพของตนเอง ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

           ประโยชน์ต่อครู  เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก  สามารถเลือสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการของเด็กเปลี่ยนแปลงไป เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก สามารถตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

            ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง  มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ  รู้ว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ฏ มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

            ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
      1. การรวบรวมข้อมูล ทางการแพทย์ ทางการประเมินด้านต่าง ๆ และจากการบันทึกของผู้ปครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
      2. การจัดทำแผน  
             - ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
             - กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
                   จุดมุ่งหมายระยะยาว ต้องกำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง เช่น น้องช่วยเหลือตนเองได้
                   จุดมุ่งหมายระยะสั้น ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก ให้เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ กำหนดให้แคบลง และเป็นเชิงพฤติกรรมเท่านั้น กำหนดขึ้นเพื่อสอนใคร พฤติกรรมอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน และพฤติกรรมนั้นต้องดีแค่ไหน
             - กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
             - ได้รับการรับรองแผนการศึกษารายบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
       3. การใช้แผน  ครูจะนำแผนระยะสั้นไปใช้ นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม แยกย่อยขั้นตอนในการสอนให้เหมาะสมกับเด็ก จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการสอน มรการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก
       4. การประเมินผล  โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน เกณฑ์การวัดผล ซึ่งการประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน

            เมื่อเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ได้สอนการเขียนแผน IEP และให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อทดลองช่วยกันเขียน IEP กลุ่มละ 1 แผน
 
 การนำไปประยุกต์ใช้
             สามารถนำเอาหลักการเขียนแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล หรือแผน IEP ไปใช้สำหรับการเขียนแผนเพื่อเด็กพิเศษเป็นรายบุคคลในอนาคตได้ รู้ว่าควรจะต้องเขียนแผนไปในลักษณะใด และควรแก้ไขพฤติกรรมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษเฉพาะด้านอย่างไร

บรรยากาศภายในห้องเรียน
การประเมิน
            ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย จดบันทึกเพิ่มเติมตามอาจารย์ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมอย่างดี
            เพื่อน : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างดี เมื่อสงสัยต้องส่วนใดก็ถามอาจารย์ คุยกันเสียงดังบ้าง แต่ก็ตั้งใจเรียนดี
            อาจารย์ : มีเกมมาให้เล่นเพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายก่อนเข้าเนื้อหาการเรียน อธิบายการเขียนแผนได้อย่างเข้าใจ การเรียนมีความสนุกสนานดีคะ